วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557


                                       ทวีปเอเชีย


เอเชีย เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 8.7 ของผิวโลก (ร้อยละ 30 ของส่วนที่เป็นพื้นดิน) และมีประชากรราว 3,900 ล้านคน หรือร้อยละ 60 ของประชากรมนุษย์ปัจจุบัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประชากรเอเชียเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่า[1]
ตามบทนิยามที่เสนอโดยสารานุกรมบริตานิกา[2] และสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก[3] เอเชียมีพื้นที่ 4/5 ของทวีปยูเรเชีย โดยมีส่วนตะวันตกของยูเรเชียเป็นทวีปยุโรป เอเชียตั้งอยู่ทางตะวันออกของคลองสุเอซ ตะวันออกของเทือกเขาอูราล และใต้เทือกเขาคอเคซัส (หรือแอ่งคูมา-มานิช) และทะเลสาบแคสเปียนและทะเลดำ พรมแดนตะวันออกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ใต้ติดมหาสมุทรอินเดีย และเหนือติดมหาสมุทรอาร์กติก มีหนึ่งประเทศตั้งอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ ไซปรัส เอเชียเป็นทวีปที่มีความหลากหลายมาก ทั้งกลุ่มเชื้อชาติ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ความผูกพันทางประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล

ประชากร
ประชากรของเอเชียมีประชากรร้อยละ 60 ของประชากรโลก ทวีปเอเชียประกอบด้วยหลายเผ่าพันธุ์ จำแนกตามเชื้อชาติได้ดังนี้
เผ่าพันธุ์มองโกลอยด์ แบ่งได้เป็น 2 พวก
พวกมองโกลอยด์เหนือ เป็นพวกผิวเหลืองและเป็นประชากรส่วนมากของทวีปเอเชีย อาศัยตามทางเอเชียเหนือและทางเอเชียตะวันออก เช่น จีน ญี่ปุ่น มองโกเลีย เกาหลี เป็นต้น
พวกมองโกลอยด์ใต้ เป็นพวกผิวเหลืองอาศัยอยู่ตามทางตอนเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น
เผ่าพันธุ์คอเคซอยด์ เป็นพวกผิวขาว รูปร่างสูงใหญ่เหมือนชาวทวีปยุโรป แต่ตาและผมสีเข้มกว่า อาศัยอยู่ในเขตเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และทางภาคเหนือของปากีสถานและอินเดีย เช่น ชนชาติอาหรับ ปากีสถาน เนปาล และบางส่วนของชาวอินเดีย
เผ่าพันธุ์นิกรอยด์ เป็นพวกผิวดำ มีรูปร่างเล็ก ผมหยิก เช่น บางส่วนของอินเดีย ศรีลังกา และหมู่เกาะต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เขตภูมิอากาศของทวีปเอเชียแบ่งออกเป็น 11 เขตดังนี้
1 ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น อยู่ระหว่างละติจูด 10 องศาเหนือ ถึง 10 องศาใต้ ได้แก่ บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์จะมีอุณหภูมิสูงตลอดปี
พืชพรรณธรรมชาติ จะเป็นป่าดงดิบ ไม้ไม่ผลัดใบ
 2 ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน หรือเขตร้อนชื้นแถบมรสุม เป็นดินแดนที่อยู่เหนือละติจูด 10 องศาเหนือขึ้นไปจะมีฤดูแล้งสลับกับฤดูฝนปีละ 6 เดือน ได้แก่บริเวณชายฝั่งบางส่วนของคาบสมุทรอินเดีย และคาบสมุทรอินโดจีน พืชพรรณธรรมชาติ จะเป็นไม้ใบกว้างและเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สัก ไม้จันทน์ ไม้ประดู่
 3 ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน มีลักษณะอากาศคล้ายกับแบบมรสุมเขตร้อน คือ มีฤดูหนึ่งที่แห้งแล้งกับอีกฤดูหนึ่งที่มีฝนตกแต่ปริมาณน้ำฝนจะน้อยกว่า ได้แก่ บริเวณตอนกลางของอินเดีย พม่า และคาบสมุทรอินโดจีน พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าโปร่งแบบป่าเบญจพรรณ

4 ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตอบอุ่น มีฝนตกในฤดูร้อน ฤดูหนาวค่อนข้างหนาว ได้แก่ บริเวณตะวันออกของจีน ภาคใต้ของญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ตอนเหนือของอินเดีย ลาว และตอนเหนือของเวียดนาม พืชพรรณชาติได้แก่ ป่าไม้ผสมและป่าไม้ผลัดใบ เช่น โอ๊ก เมเปิล ถ้าขึ้นไปทางเหนือที่มีอากาศหนาว  พืชพรรณธรรมชาติ จะเป็นไม้สน ที่มีใบเขียวตลอดปี
 5 ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป ได้แก่บริเวณภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน เกาหลีเหนือ ภาคเหนือของญี่ปุ่น และตะวันออกเฉียงใต้ของไซบีเรีย พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าผสมระหว่างป่าไม้ผลัดใบและป่าสน ลึกเข้าไปเป็น ทุ่งหญ้า สามารถปลูกข้าวโพด ข้าวสาลีได้
 6 ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายแถบอบอุ่น มีอุณหภูมิสูงมากใน ฤดูร้อน และมีอุณหภูมิต่ำมากในฤดูหนาว ได้แก่บริเวณภาคตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอาหรับ ตอนกลางของตุรกี ตอนเหนือของอิหร่าน ในมองโกเลีย
พืชธรรมธรรมชาติ เป็นทุ่งหญ้าสั้น (Steppe) ทุ่งหญ้าบริเวณดังกล่าวบางแห่งที่มีการชลประทานเข้าถึง สามารถเพราะปลูกข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ฝ้าย และเลี้ยงสัตว์ได้ดี
 7 ภูมิอากาศแบบทะเลทราย ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิกลางวันกับกลางคืนจะแตกต่างกันมาก ได้แก่บริเวณทะเลทรายโกบี ทะเลทรายธาร์ และที่ราบสูงทิเบต ที่ราบสูงอิหร่าน สำหรับในเขตทะเลทรายบริเวณที่มีน้ำและต้นไม้ขึ้นได้ เรียกว่า โอเอซิส พืชพรรณธรรมชาติ เช่น อินทผลัม ตะบองเพชร และไม้ประเภทมีหนาม
 8 ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ภูมิอากาศซึ่งฤดูร้อนอากาศร้อนและ แห้งแล้ง มีฝนตกในฤดูหนาว เนื่องจากได้รับอิทธิพล ของลมตะวันตก ได้แก่ บริเวณชายฝั่งของประเทศตุรกี เลบานอน ซีเรีย อิสราเอล
พืชพรรณธรรมชาติ ได้แก่ ไม้ต้นเตี้ย ไม้พุ่มมีหนาม ต้นไม้เปลือกหนา พืชที่เพาะปลูก ได้แก่ ส้ม องุ่น และมะกอก
 9 ภูมิอากาศแบบไทกา (แบบกึ่งขั้วโลก) มีฤดูหนาวยาวนาน และมีอากาศหนาวจัด ส่วนฤดูร้อนจะมีเวลาสั้น ได้แก่ ดินแดนทางภาคเหนือของทวีป บริเวณไซบีเรีย
พืชพรรณธรรมชาติ จะเป็นป่าสนไม้เนื้ออ่อน ที่เลือกว่า ไทกา หรือป่าสนไซบีเรีย
 10 ภูมิอากาศแบบทุนดรา (แบบขั้วโลก) ได้แก่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติกทางตอนเหนือสุดของทวีปเอเชีย จะมีฤดูหนาวที่ยาวนานมาก และอากาศหนาวจัด มีหิมะปกคลุมตลอดปี ไม่มีฤดูร้อน
พืชพรรณธรรมชาติ ได้แก่ พวกตะไคร่น้ำ และมอสส์
 11 ภูมิอากาศแบบที่สูง ได้แก่ที่ราบสูงทิเบต เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาฮินดูกูช เทือกเขาคุนลุน จะมีอากาศที่หนาวเย็น และมีหิมะปกคลุมตลอดปี

                                                 ทวีปออสเตรเลีย



     เป็นทวีปที่รวมแผ่นดินใหญ่ของประเทศออสเตรเลีย นิวกินี แทสมาเนีย และเกาะต่างๆที่อยู่บนไหล่ทวีปเดียวกัน ในทางธรณีวิทยาแล้วไหล่ทวีปถือเป็นส่วนหนึ่งของทวีป ทำให้แผ่นดินที่กระจัดกระจายเหล่านี้ยังคงนับว่าเป็นทวีป สำหรับประเทศนิวซีแลนด์นั้นไม่ได้อยู่บนไหล่ทวีปเดียวกัน แต่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่ใหญ่กว่าที่เรียกว่าออสตราเลเชีย
ภูมิอากาศ
 มีด้วยกัน 7 เขต ดังนี้
1. ร้อนชื้นชายฝั่งทะเล อยู่ทางด้านชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ มีอุณหภูมิสูง ฝนตกชุก พืชพรรณเป็นป่าไม้เขตร้อน
2. ทุ่งหญ้าสะวันนา ชายฝั่งตอนเหนือของทวีป มีอุณหภูมิสูง ฝนตกปานกลาง พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าเขตร้อน
3. ทะเลทราย อยู่ในพื้นที่ตอนกลางและภาคตะวันตกของทวีป ฝนตกน้อย อุณหภูมิสูง
4. กึ่งทะเลทราย รอบๆทะเลทราย พืชเป็นทุ่งหญ้าสั้น
5. เมดิเตอร์เรเนียน อยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปและฝั่งตะวันออกของอ่าวเกรตออสเตรเลียนไบต์ อากาศอบอุ่นและฝนตกในฤดูหนาว
6. ชื้นกึ่งร้อน อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป อากาศอบอุ่นและมีฝนตก พืชพรรณเป็นป่าไม้ผลัดใบในเขตอบอุ่น
7. อบอุ่นค่อนข้างหนาว บริเวณเกาะแทสเมเนีย ฝนตกชุก อากาศหนาวกว่าเขตอื่น
ภาษา
ทุกเชื้อชาติใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูด และเป็นภาษาราชการของออสเตรเลีย ศาสนาส่วนมากจะะนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งแต่ละนิกายมีจำนวนเท่าๆกัน เช่นนิกายโรมันคาทอลิก แองกลิกัน โปรเตสแตนท์
ที่ตั้งและอาณาเขต
 ทวีปออสเตรเลียเป็นทวีปที่อยู่ในซีกโลกใต้  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก  มีเนื้อที่ประมาณ  7.6  ล้านตารางกิโลเมตร  มีขอบเขตดังนี้
 ทิศเหนือ    ติดต่อกับทะเลติมอร์  (Timor)  และทะเลอาราฟูรา (Arafura)  ดินแดนที่อยู่เหนือสุดคือ แหลมยอร์ก (Cape Yore)  อยู่ที่ตอนปลายสุดของคาบสมุทรเคปยอร์ก (Cape York Peninsula)   มีช่องแคบทอร์เรส (Torres Strait)  กั้นระหว่างเกาะนิวกินี กับทวีปออสเตรเลีย, อ่าวคาเฟนทาเรีย

    ทิศตะวันออก  ติดกับทะเลคอรัล (Coral)  และทะเลเทสมัน (Tasman)  บริเวณที่อยู่ด้านตะวันออกสุดของทวีปคือแหลมไบรอน (Cape Byron)
       ทิศใต้   ติดกับมหาสมุทรอินเดีย  อ่าวเกรดออสเตรเลียไบส์   ส่วนที่อยู่ใต้สุดของออสเตรเลีย คือ  แหลมวิลสัน (Wilson’s Promontory)    มีช่องแคบบาสส์ (Bass Strait)  กั้นระหว่างเกาะแทสเมเนียกับตัวทวีป
       ทิศตะวันตก    ติดกับมหาสมุทรอินเดีย  ส่วนที่อยู่ด้านตะวันตกสุดของทวีปคือ แหลมสตีป (Steep Point)
     ทวีปออสเตรเลียเป็นทวีปที่อยู่ใกล้กับทวีปเอเชียมากกว่าทวีปอื่นๆ  ทั้งหมด  จากปลายสุดของคาบสมุทรมาลายู ถึงชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปออสเตรเลีย มีระยะทางเพียง 4,300 กิโลเมตรเท่านั้น
ประชากร
ออสเตรเลียมีประชากรราว 21 ล้านคน ( กรกฏาคม 2007 ) โดยมีอัตราการเกิดของประชากรต่ำ (ประมาณการว่า อัตราการเกิดเท่ากับ 12.4 คน / ประชากร 1,000 คน และ อัตราการตายเท่ากับ 7.38 คน / ประชากร 1,000 คน ) ทำให้เป็นประเทศที่มีประชากรไม่หนาแน่นมากนัก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในทวีปเดียวกัน
คิดประมาณได้ว่า 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด อพยพมาจากประเทศแถบเอชีย ยุโรป อังกฤษและอเมริกา และประมาณว่า 1 ใน 10 ของประชากรเป็นผู้อพยพหรือเป็นลูกหลานของผู้อพยพซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ และประชากร 1 ใน 20 มาจากเอเชีย
ด้วยความหลากหลายของเชื้อชาติจากหลายประเทศมากกว่า 140 ประเทศทั่วโลกมาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม จึงถือได้ว่าออสเตรเลียเป็นสังคมแห่งสหวัฒนธรรมอย่างแท้จริง โดย 85% ของพลเมืองออสเตรเลียทั้งหมด อาศัยตามเขตเมืองใหญ่ใกล้กับชายฝั่งทะเล
ออสเตรเลียมีประชากรอยู่ประมาณ 21 ล้านคน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณเมืองใหญ่อย่าง ซิดนี่ย์ และ เมลเบิล  รัฐที่มีประชากรอาศัยหนาแน่นที่สุด คือ รัฐนิวเซาท์เวล ชาวออสเตรเลียปัจจุบันให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสมัยใหม่มาก จนได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือและเครื่องโทรสารต่อจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์คอมพิวเตอร์เชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมากเป็นอันดับหกของโลก