วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557


                                       ทวีปเอเชีย


เอเชีย เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 8.7 ของผิวโลก (ร้อยละ 30 ของส่วนที่เป็นพื้นดิน) และมีประชากรราว 3,900 ล้านคน หรือร้อยละ 60 ของประชากรมนุษย์ปัจจุบัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประชากรเอเชียเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่า[1]
ตามบทนิยามที่เสนอโดยสารานุกรมบริตานิกา[2] และสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก[3] เอเชียมีพื้นที่ 4/5 ของทวีปยูเรเชีย โดยมีส่วนตะวันตกของยูเรเชียเป็นทวีปยุโรป เอเชียตั้งอยู่ทางตะวันออกของคลองสุเอซ ตะวันออกของเทือกเขาอูราล และใต้เทือกเขาคอเคซัส (หรือแอ่งคูมา-มานิช) และทะเลสาบแคสเปียนและทะเลดำ พรมแดนตะวันออกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ใต้ติดมหาสมุทรอินเดีย และเหนือติดมหาสมุทรอาร์กติก มีหนึ่งประเทศตั้งอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ ไซปรัส เอเชียเป็นทวีปที่มีความหลากหลายมาก ทั้งกลุ่มเชื้อชาติ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ความผูกพันทางประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล

ประชากร
ประชากรของเอเชียมีประชากรร้อยละ 60 ของประชากรโลก ทวีปเอเชียประกอบด้วยหลายเผ่าพันธุ์ จำแนกตามเชื้อชาติได้ดังนี้
เผ่าพันธุ์มองโกลอยด์ แบ่งได้เป็น 2 พวก
พวกมองโกลอยด์เหนือ เป็นพวกผิวเหลืองและเป็นประชากรส่วนมากของทวีปเอเชีย อาศัยตามทางเอเชียเหนือและทางเอเชียตะวันออก เช่น จีน ญี่ปุ่น มองโกเลีย เกาหลี เป็นต้น
พวกมองโกลอยด์ใต้ เป็นพวกผิวเหลืองอาศัยอยู่ตามทางตอนเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น
เผ่าพันธุ์คอเคซอยด์ เป็นพวกผิวขาว รูปร่างสูงใหญ่เหมือนชาวทวีปยุโรป แต่ตาและผมสีเข้มกว่า อาศัยอยู่ในเขตเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และทางภาคเหนือของปากีสถานและอินเดีย เช่น ชนชาติอาหรับ ปากีสถาน เนปาล และบางส่วนของชาวอินเดีย
เผ่าพันธุ์นิกรอยด์ เป็นพวกผิวดำ มีรูปร่างเล็ก ผมหยิก เช่น บางส่วนของอินเดีย ศรีลังกา และหมู่เกาะต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เขตภูมิอากาศของทวีปเอเชียแบ่งออกเป็น 11 เขตดังนี้
1 ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น อยู่ระหว่างละติจูด 10 องศาเหนือ ถึง 10 องศาใต้ ได้แก่ บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์จะมีอุณหภูมิสูงตลอดปี
พืชพรรณธรรมชาติ จะเป็นป่าดงดิบ ไม้ไม่ผลัดใบ
 2 ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน หรือเขตร้อนชื้นแถบมรสุม เป็นดินแดนที่อยู่เหนือละติจูด 10 องศาเหนือขึ้นไปจะมีฤดูแล้งสลับกับฤดูฝนปีละ 6 เดือน ได้แก่บริเวณชายฝั่งบางส่วนของคาบสมุทรอินเดีย และคาบสมุทรอินโดจีน พืชพรรณธรรมชาติ จะเป็นไม้ใบกว้างและเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สัก ไม้จันทน์ ไม้ประดู่
 3 ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน มีลักษณะอากาศคล้ายกับแบบมรสุมเขตร้อน คือ มีฤดูหนึ่งที่แห้งแล้งกับอีกฤดูหนึ่งที่มีฝนตกแต่ปริมาณน้ำฝนจะน้อยกว่า ได้แก่ บริเวณตอนกลางของอินเดีย พม่า และคาบสมุทรอินโดจีน พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าโปร่งแบบป่าเบญจพรรณ

4 ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตอบอุ่น มีฝนตกในฤดูร้อน ฤดูหนาวค่อนข้างหนาว ได้แก่ บริเวณตะวันออกของจีน ภาคใต้ของญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ตอนเหนือของอินเดีย ลาว และตอนเหนือของเวียดนาม พืชพรรณชาติได้แก่ ป่าไม้ผสมและป่าไม้ผลัดใบ เช่น โอ๊ก เมเปิล ถ้าขึ้นไปทางเหนือที่มีอากาศหนาว  พืชพรรณธรรมชาติ จะเป็นไม้สน ที่มีใบเขียวตลอดปี
 5 ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป ได้แก่บริเวณภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน เกาหลีเหนือ ภาคเหนือของญี่ปุ่น และตะวันออกเฉียงใต้ของไซบีเรีย พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าผสมระหว่างป่าไม้ผลัดใบและป่าสน ลึกเข้าไปเป็น ทุ่งหญ้า สามารถปลูกข้าวโพด ข้าวสาลีได้
 6 ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายแถบอบอุ่น มีอุณหภูมิสูงมากใน ฤดูร้อน และมีอุณหภูมิต่ำมากในฤดูหนาว ได้แก่บริเวณภาคตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอาหรับ ตอนกลางของตุรกี ตอนเหนือของอิหร่าน ในมองโกเลีย
พืชธรรมธรรมชาติ เป็นทุ่งหญ้าสั้น (Steppe) ทุ่งหญ้าบริเวณดังกล่าวบางแห่งที่มีการชลประทานเข้าถึง สามารถเพราะปลูกข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ฝ้าย และเลี้ยงสัตว์ได้ดี
 7 ภูมิอากาศแบบทะเลทราย ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิกลางวันกับกลางคืนจะแตกต่างกันมาก ได้แก่บริเวณทะเลทรายโกบี ทะเลทรายธาร์ และที่ราบสูงทิเบต ที่ราบสูงอิหร่าน สำหรับในเขตทะเลทรายบริเวณที่มีน้ำและต้นไม้ขึ้นได้ เรียกว่า โอเอซิส พืชพรรณธรรมชาติ เช่น อินทผลัม ตะบองเพชร และไม้ประเภทมีหนาม
 8 ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ภูมิอากาศซึ่งฤดูร้อนอากาศร้อนและ แห้งแล้ง มีฝนตกในฤดูหนาว เนื่องจากได้รับอิทธิพล ของลมตะวันตก ได้แก่ บริเวณชายฝั่งของประเทศตุรกี เลบานอน ซีเรีย อิสราเอล
พืชพรรณธรรมชาติ ได้แก่ ไม้ต้นเตี้ย ไม้พุ่มมีหนาม ต้นไม้เปลือกหนา พืชที่เพาะปลูก ได้แก่ ส้ม องุ่น และมะกอก
 9 ภูมิอากาศแบบไทกา (แบบกึ่งขั้วโลก) มีฤดูหนาวยาวนาน และมีอากาศหนาวจัด ส่วนฤดูร้อนจะมีเวลาสั้น ได้แก่ ดินแดนทางภาคเหนือของทวีป บริเวณไซบีเรีย
พืชพรรณธรรมชาติ จะเป็นป่าสนไม้เนื้ออ่อน ที่เลือกว่า ไทกา หรือป่าสนไซบีเรีย
 10 ภูมิอากาศแบบทุนดรา (แบบขั้วโลก) ได้แก่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติกทางตอนเหนือสุดของทวีปเอเชีย จะมีฤดูหนาวที่ยาวนานมาก และอากาศหนาวจัด มีหิมะปกคลุมตลอดปี ไม่มีฤดูร้อน
พืชพรรณธรรมชาติ ได้แก่ พวกตะไคร่น้ำ และมอสส์
 11 ภูมิอากาศแบบที่สูง ได้แก่ที่ราบสูงทิเบต เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาฮินดูกูช เทือกเขาคุนลุน จะมีอากาศที่หนาวเย็น และมีหิมะปกคลุมตลอดปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น